เรือนไทย

บ้านไทยสมัยโบราณตกแต่งภายในอย่างไรบ้าง

หากจะพูดถึงเรื่องของออกแบบบ้านหลากหลายสไตล์ที่แต่ละท่านคงชื่นชอบไม่เหมือนกัน มีทั้งบ้านสไตล์โมเดิร์น บ้านสไตล์มินิมอลหรือบ้านเรือนไทย เป็นต้น แต่ทุกๆ ท่านสงสัยกันมั้ยหล่ะครับว่า การตกแต่งภายในของบ้านเรือนไทยนั้นเค้าทำกันอย่างไร เลือกกันแบบไหน? บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปค้นหาคำตอบกันครับ

ทำความรู้จักกับ บ้านเรือนไทย สมัยโบราณ

“บ้านเรือนไทย” คือ ที่อยู่อาศัยที่เน้นประโยชน์การใช้สอยและเหมาะกับสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย โดยเป็น เรือนยกพื้นสูง เพื่อป้องกันภัยพิบัติจากน้ำท่วม ในช่วงฤดูน้ำหลาก หากเกิดลมพายุก็สามารถให้ลมพัดผ่านไปได้ ไม่ขว้างทิศทางลม ในขณะเดียวกันเมื่อสภาพอากาศเป็นปกติทั่วไป ใต้ถุนจะกลายเป็นพื้นที่ทำงาน ประกอบอาชีพ อาทิ ทอผ้า ตำข้าว รวมไปถึงเก็บข้าวของเครื่องใช้ในการทำมาหากิน หรือทำเป็นคอกสัตว์

บ้านเรือนไทยประกอบไปด้วยส่วนใดบ้าง?

เรือนครัว ส่วนใหญ่มักสร้างแยกกับตัวเรือนที่พักอาศัย บริเวณหน้าจั่วทั้ง 2 ด้านของห้องครัว มีการออกแบบโดยทำช่องระบายอากาศเพื่อให้สามารถถ่ายเทกลิ่นอาหารและควันไฟออกจากครัวด้สะดวก โดยการใช้ไม้ตีเว้นช่อง รวมไปถึงใช้ชายคากันสาดยื่นออกจากตัวเรือน เพื่อให้สามารถป้องกันแสงแดดและฝนสาดนั่นเอง

เรือนนอน เป็นเรือนที่ใช้นอน ในครอบครัวที่ขยายขึ้น มันจะมีการสร้างเรือนเพิ่มรอบๆ ชานเรือน ทำให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถออกมาใช้งานชานเรือนได้สะดวก

ชานเรือน มีลักษณะเป็นชานกว้างๆ พื้นที่โล่งเชื่อมกับเรือนหลังอื่นๆ บางบ้านที่มีฐานะอาจมีศาลาอยู่กลางชานบ้าน

การตกแต่งภายในห้องต่างๆ ของบ้านเรือนไทย

ส่วนเรือนครัว บ้านเรือนไทยมักจะตกแต่งด้วยเฟอร์นิเจอร์ไม้เกือบทั้งหมด ซึ่งในส่วนของเรือนครัวนั้นจะประกอบไปด้วยตู้กับข้าวไม้ที่มีกระจกเป็นบานปิดประกับลวดลายไทยตามขอบต่างๆ เครื่องจานชามและภาชนะใส่อาหารต่างๆ จะเป็นลายครามหรือเป็นลายไทยที่สวยงาม ส่วนของอุปกรณ์ทำอาหารต่างๆ มักจะทำจากไม้และเหล็ก ตกแต่งบานหน้าตาด้วยลวยลายไทยแบบต่างๆ

ส่วนเรือนนอน มักจะใช้เตียงไม้ขนาดใหญ่แบบที่เป็นม่านมุ้งในตัว ประกอบกับชุดเครื่องนอนสีพื้นเรียบง่าย ทำให้ดูสบายตา บานหน้าต่างมีขนาดใหญ่ ประกอบด้วยลวดลายไม้สวยงาม ตู้เสื้อผ้าไม้สักหลังใหญ่และตู้เก็บของข้างเตียงที่เป็นลายไม้สวยงาม

ส่วนของพื้นที่ใต้ถุนและรอบๆ บ้าน ตกแต่งเป็นสวนไม้มงคล โดยเลือกนำกระถางต้นไม้พร้อมพันธุ์ไม้ต่างๆ มาจัดวางให้ลดหลั่นสวยงาม และอีกหนึ่งไอเดียของการจัดสวนที่ขอบอกเลยว่า DIY สุดๆ คือราวแขวนประดับกล้วยไม้สวยๆ ที่ดัดแปลงมาจากล้อเกวียนไม้อันเก่า เพียงจับมาต่อเข้ากับเสาไม้หรือเสาเหล็กหน่อยก็เป็นราวแขวนต้นไม้เก๋ๆ แบบไม่ซ้ำใคร

หลักการดูแลบ้าน

1. ตรวจสอบการรั่วซึมของหลังคาบ้าน หากสิ่งของภายในบ้านเกิดเปียกเลอะเทอะหรือชำรุดจากหลังคาที่รั่วซึม แถมตามเพดานฝ้ายังได้รับความเสียหายจากรอยตะไคร่น้ำ เราสามารถแก้ไขสถานการณ์นี้ได้โดยปูกระเบื้อง มุงหลังคาที่แตก และเปลี่ยนฝ้าใหม่โดยเร็วที่สุด

2. ไม่ควรทิ้งขยะลงไปในท่อ ไม่ควรทิ้งขยะหรือเศษอาหารลงในท่อระบายน้ำ เพราะอาจทำให้ท่ออุดตันจนไม่สามารถระบายน้ำได้ ทางที่ดีเราควรทิ้งในถุงขยะที่จัดเตรียมไว้ เพื่อที่จะได้ลดค่าใช้จ่าย และค่าเสียเวลาในการซ่อมแซม

3. หมั่นเช็คสภาพระบบไฟฟ้าปลั๊กอยู่เสมอ ควรสังเกตตรวจสอบสายไฟ ปลั๊กไฟ และหลอดไฟ หากพบว่ามีรอยชำรุดหรือเสียหาย ควรเปลี่ยนใหม่ให้มีสภาพพร้อมใช้งานเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์อันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร ไฟช็อต ไฟรั่ว รวมไปถึงเหตุเพลิงไหม้ที่อาจส่งผลให้สมาชิกในบ้านได้รับบาดเจ็บ

4. เลือกผลิตภัณฑ์ดูแลบ้านที่มีคุณภาพ ควรเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลทำความสะอาดบ้านที่มีคุณภาพ สภาพดีพร้อมใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ไม้ถูพื้น ไม้กวาด ผ้าเช็ดทำความสะอาด ถังขยะ น้ำยาถูพื้นที่มีส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ เป็นต้น เมื่อเรามีอุปกรณ์ดีก็จะทำให้การทำความสะอาดของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น

5. หมั่นดูแลผนังบ้านและควซ่อมแซมปรับปรุงอยู่เสมอ หมั่นตรวจสอบผนังบ้านว่าสีผนังเกิดรอยร้าว สีลอก หรือมีฝุ่นคล้ายแป้งหรือไม่ หากพบว่าสีเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว ควรเรียกช่างเข้ามาดูแลซ่อมแซมอุดรอย ทาสี ขัดเงา รวมไปถึงทาเคลือบป้องกันปลวกให้เรียบร้อย

และนี้คือ “บ้านไทยสมัยโบราณตกแต่งภายในอย่างไรบ้าง” พร้อมกับวิธีดูแลบ้านเบื้องต้นที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในวันนี้ครับ หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ