บ้านทรงไทย

ลักษณะของเรือนไทยที่ดี ตัวบ้านประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

หลายๆ ท่านที่กำลังจะวางแผนสร้างบ้าน คงมีแบบบ้านหลากหลายในใจกันอยู่ในมั้ยหล่ะครับ และแบบบ้านทรง “เรือนไทย” นั้นนับได้ว่าเป็นแบบบ้านที่มีมาอย่างช้านาน มีทั้งความสวยงามและคุณประโยชน์มากมายมากกว่าที่คนสมัยใหม่อาจทราบได้ บทความนี้จึงของเป็นตัวแทนเพื่อนำท่านผู้อ่านไปพบกับความรู้เกี่ยวกับ “ลักษณะของเรือนไทยที่ดีมีอะไรบ้าง” พร้อมกับแนะนำชนิดไม้ที่เหมาะกับการทำบ้านให้กับทุกๆ ท่านได้ไว้ใช้พิจารณากันครับ

ทำความรู้จักกับบ้านเรือนไทย

“บ้านเรือนไทย” เป็นหนึ่งในสถาปัตยกรรมไทยที่ซึ่งอยู่คู่คนไทยมาอย่างยาวนานหลายร้อยปี มันมีเอกลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยได้อย่างชัดเจน เป็นการออกแบบ้านด้วยความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ด้วยการนำศิลปะมาใช้ในการออกแบบที่อยู่อาศัย โดยบรรพบุรุษของไทยเราเอง ซึ่งบ้านเรือนไทยนั้นก็หลงเหลืออยู่น้อยมากแล้วในประเทศไทย ซึ่งก่อเกิดจากหลายปัจจัย อย่างเช่น วัสดุที่หายากขึ้นละมีราคาที่สูงมากขึ้น เทคนิคการก่อสร้างเฉพาะด้าน จึงไม่ค่อยมีใครที่จะสร้างมันขึ้นมาอีก

บ้านเรือนไทย 4 ภาคแตกต่างกันอย่างไร?

บ้านเรือนไทย 4 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลางและภาคใต้ ถือเป็นอีกหนึ่งแบบบ้านที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ไทยได้เป็นอย่างดี นอกจากการออกแบบที่สวยงาม โดดเด่น เรือนไทย 4 ภาคส่วนใหญ่ มักออกแบบแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมขึ้นอยู่กับภูมิประเทศ ภูมิอากาศ โดยเน้นที่ความสะดวกสบาย และประโยชน์ใช้สอยเป็นหลักครับ

ส่วนประกอบของบ้านเรือนไทยมีอะไรบ้าง?

●เรือนนอน เรือนนอนเป็นพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย พักผ่อนหย่อนใจ มักแบ่งห้องตามจำนวนสมาชิก หากมีสมาชิกเพิ่มขึ้นหรือครอบครัวขยายตัวมากขึ้น จะมีการสร้างเรือนเพิ่มรอบ ๆ แล้วเชื่อมต่อกันด้วยชานเรือน

ชานเรือน

●ชานเรือน เป็นพื้นที่โล่งกว้างเชื่อมระหว่างห้องต่าง ๆ ใช้สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น สำหรับพักผ่อน พบปะสังสรรค์ ใช้เป็นพื้นที่รับรองแขก รวมไปถึงใช้จัดพิธีแต่งงานได้อีกด้วย

●เรือนครัว เรือนครัว เป็นเรือนที่มักสร้างแยกจากบริเวณที่พักอาศัย โดยออกแบบให้มีช่องระบายอากาศ เพื่อระบายควันไฟ และกลิ่นอาหารออกสู่ภายนอก และนิยมตีไม้เว้นช่องเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี

ประเภทไม้ที่เหมาะสำหรับนำมาทำบ้านมีชนิดใดบ้าง

ไม้เนื้อแข็ง  ทำไมจึงเลือกใช้ ไม้เนื้อแข็งในงานก่อสร้าง หากแต่ ไม้เนื้อแข็ง มักเป็นไม้ที่มีเนื้อเหนียว มีสีเข้มกว่าไม้ประเภทอื่น และมีความแข็งแรงประมาณ 1,000 กก./ลบ.ม. (ทนแรงกระแทกได้ดี ไม้เนื้อแข็งจะ เนื้อแน่น) ไม้เนื้อแข็งนี้ จะทนได้ดี ต่อการใช้งานภายนอก โดยเฉพาะงานที่ต้องเจอสภาวะอากาศแปรปรวนต่างๆ โดยไม่ว่าจะเป็นที่ที่มี แดดแรง ลมพายุพัดแรง ฝนตก

ไม้เนื้อแข็งปานกลาง เป็นไม้ที่ไม่ได้แข็งเท่าไม่เนื้อแข็ง คุณภาพดีกว่าไม้เนื้ออ่อน มีความแข็งแรงประมาณ 600 ถึง 1,000 กก./ลบ.ม คุณสมบัติหลักๆของไม้เนื้อปานกลาง คือ ทนทานต้อสภาพอากาศได้ดีเท่ากับไม้เนื้อแข็ง นิยมเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องเรือนต่างๆ ที่ต้องการความละเอียดสวยงาม อายุการใช้งานประมาณ 6 ปี ตัวอย่างของไม้เนื้อแข็งปานกลาง ได้แก่ ไม้ยูง ไม้มะค่าแต้ ไม้พลวง ไม้นนทรี ไม้ตะแบก ไม้ตาเสือ ไม้ตะเคียนทอง

ไม้เนื้ออ่อน ไม้มีความแข็งแรงทนทานน้อย ไม้ชนิดนี้จะมีสีของไม้แตกต่างกันออกไปมาก ตั้งแต่ไม้ที่มีสีจาง อ่อนไปจนถึงสีเข้ม เนื้อไม้ไม่แข็งมากนักจึงไม่นำนิยมนำมาใช้เป็นส่วนของโครงสร้างที่ต้องการรับน้ำหนัก และเนื่องจากเนื้อไม้อ่อนและไม่ค่อยทนทานไม้เนื้ออ่อนเป็นไม้ที่มีความแข็งแรงเฉลี่ยต่ำกว่า 600 กก./ลบ.ม. มีความทนทานต่ำเมื่อเทียบกับไม้ประเภทอื่น คือประมาณ 2 ปี ไม้ประเภทนี้ก็ได้แก่ ไม้ยางแดง ไม้พะยอม ไม้พญาไม้ ไม้กระเจา ไม้กวาด

เป็นอย่างไรบ้างครับกับ “ลักษณะของเรือนไทยที่ดี” ที่เรานำมาฝากทุกๆ ท่านกันในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์นะครับ