เรือนไทย

บ้านเรือนไทย 4 ภาค

วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวไทยนั้น มีความเป็นเอกลักษณ์มากมายหลายแบบที่น่าสนใจเลยหล่ะครับ แต่ในวันนี้เราจะมากล่าวเกี่ยวกับ “บ้านเรือนไทย 4 ภาค” กันสักหน่อยครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันดีกว่าครับ เล็สโก้วว!!!

บ้านเรือนไทยทำไมถึงนิยมทำจากไม้

บ้านทรงไทย ถึงเป็นแบบบ้านที่เหมาะกับสภาพอากาศของประเทศไทย ที่มีอากาศร้อนจัดตลอดทั้งปี ทั้งนี้ คือ แบบบ้านทรงไทยทั่วไปนั้น นิยมใช้วัสดุหลักในการประกอบบ้านเป็น “ไม้” ซึ่งสามารถคลายความร้อนได้ดีกว่าวัสดุที่ทำมาจากคอนกรีต ที่มีคุณสมบัติอมความร้อนสูงกว่าวัสดุประเภทไม้ ทำให้ทั้งคนโบราณและปัจจุบันยังนิยมสร้างบ้านจากไม้ต่อไปครับ

1. บ้านเรือนไทยภาคเหนือ

เนื่องจากพื้นที่ภาคเหนือมีอากาศหนาวเย็น บ้านเรือนไทยทางภาคเหนือจึงนิยมสร้างเป็นเรือนแฝด และมีหลังคาเตี้ยกว่าเรือนไทยภาคอื่น ๆ รวมถึงสัดส่วนของตัวบ้านด้วยเช่นกัน โดยนิยมสร้างบ้านเรือนให้ปิดมิดชิด เจาะหน้าต่างเล็ก ๆ เพื่อปกป้องผู้อยู่อาศัยจากอากาศเย็น และใช้วัสดุที่หาได้จากท้องถิ่น

2. บ้านทรงไทยภาคกลาง

บ้านเรือนไทยภาคกลางส่วนใหญ่นิยมสร้างใกล้กับที่ราบลุ่มแม่น้ำเช่นเดียวกับบ้านภาคอีสาน แต่เนื่องจากภาคกลางมีอากาศร้อนอบอ้าว คนส่วนใหญ่จึงมักสร้างบ้านหลังคาสูง เพื่อถ่ายเทความร้อนออกจากตัวบ้าน และช่วยให้น้ำฝนไหลลงจากหลังคาได้เร็ว โดยบ้านเรือนไทยภาคกลางมักสร้างด้วยไม้ไผ่สลับไม้เนื้อแข็ง นิยมสร้าง 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

  • เรือนเดี่ยว ครอบครัวขนาดเล็กมีเรือนนอน แยกกับเรือนครัว และมีการเชื่อมด้วยชานเดียวกัน
  • เรือนหมู่ เรือนหลายหลังเชื่อมต่อกัน เป็นเรือนของผู้มีฐานะมาก วัสดุก่อสร้างเป็นเรือนไม้เนื้อแข็ง ใต้ถุนสูง หลังคาจั่วทรงสูง อ่อนโค้ง ประดับด้านจั่ว “เหงา” หรือ “หางปลา” มีระเบียงบ้านรับลม

3. บ้านทรงไทยภาคใต้

เนื่องจากภูมิประเทศทางภาคใต้นั้นแตกต่างจากภูมิภาคอื่น ๆ เป็นอย่างมาก เพราะมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ผู้คนทางภาคใต้จึงมักสร้างบ้านที่มีหลังคาสูงเพื่อระบายน้ำฝนให้ไหลลงผ่านชาคาที่คลุมไปถึงบันได และนิยมใช้ไม้กระดาน ไม้ไผ่สาน หรือวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้ตามหลักวัฒนธรรม และความเชื่อของภาคใต้ การปลูกบ้านจึงมีทั้งหมด 2 แบบ คือ เรือนไทยมุสลิม และเรือนไทยพุทธ ดังนี้

  • เรือนไทยพุทธภาคใต้ ลัษณะเรือนไม้ใต้ถุนสูง มีหลังคาทรงปั้นหยา และจั่วภายในบ้านมีการกั้นห้องแบ่งเป็นสัดส่วน ชายคายื่นยาว หรือชานเชื่อมแต่ละเรือนเข้าด้วยกัน การก่อสร้างไม่ซับซ้อน
  • เรือนไทยมุสลิมภาคใต้ เน้นใต้ถุนสูง มีหลังคา 3 แบบ ปั้นหยา มนิลา และ จั่ว ภายในสบาย มักจะเปิดโล่ง มีเฉพาะห้องที่สำคัญเป็นส่วนตัวเท่านั้น

4. บ้านเรือนไทยภาคอีสาน

ที่อยู่อาศัยภาคอีสานส่วนใหญ่ มักตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ หรือหนองบึง และนิยมสร้างด้านกว้างให้หันไปทางทิศตะวันออก และทิศตะวันตก และสร้างด้านยาวไปทางทิศเหนือและทิศใต้ โดยบ้านเรือนไทยภาคอีสานที่นิยมสร้างมีทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่

  • เฮือนเกย เป็นเฮือนเดี่ยว มีการออกแบบยื่นชายคาหลังคาด้านหนึ่งยาวออกไป คลุมพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด เรียกว่า “เกย”
  • เฮือนแฝด หลังคาทรงจั่วสองเรือนสร้างชิดกัน มีผนังครบทุกด้าน เป็น “เฮือนใหญ่”
  • เฮือนโข่ง มีลักษณะคล้ายเฮือนแฝด มีการแยกโครงสร้างออกจากกัน เพื่อให้เกิดเป็นช่องทางเดินตรงกลางเชื่อมต่อพื้นที่ หลังคาลาดชันน้อย

ข้อดีของบ้านเรือนไทย

สมัยก่อนการเกินน้ำท่วมในพื้นที่ราบลุ่มไม่ได้ถูกจัดสรรน้ำเหมือนอย่างในปัจจุบัน ด้วยความสูงของใต้ถุนบ้าน อีกหนึ่งข้อที่ถือเป็นข้อดีก็คือเมื่อเกิดน้ำท่วมขังข้าวของภายในบ้านก็จะไม่เสียหาย และทำให้ทุกชีวิตภายในบ้านสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบายภายในบ้าน นอกจากนั้นยังปลอดภัยจากอันตรายจากสัตว์ที่มากับน้ำด้วย

และนี้ก็คือข้อมูลและเรื่องราวที่เกี่ยวกับ “บ้านเรือนไทย 4 ภาค” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้กันครับ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกๆ คนไม่มากก็น้อยกันนะครับ